analyticstracking
ผลสำรวจเรื่อง รถไฟฟ้าสายสีต่างๆ กับหัวอกคนใช้บริการ
           ประชาชนร้อยละ 46.2 ระบุว่าปัจจุบันต้องเสียเงินค่าขึ้นรถไฟฟ้าเฉลี่ยวันละ 51-100 บาท
     โดยร้อยละ 61.0 ระบุว่า ค่าตั๋วโดยสารแพงเป็นปัญหาหนึ่งในการใช้บริการรถไฟฟ้า ทั้งนี้ร้อยละ
     61.0 วอนผู้ที่เกี่ยวข้องปรับค่าโดยสารให้ถูกลงกว่านี้
           ส่วนร้อยละ 88.3 ระบุว่ามีความพึงพอใจมากถึงมากที่สุดต่อการให้บริการรถไฟฟ้าในภาพรวม
    และร้อยละ 78.5 เห็นว่า หากสามารถสร้างรถไฟฟ้าครอบคลุมทุกเส้นทางตามที่วางแผนไว้จะทำให้
    คนกรุงเทพฯและปริมณฑลลดใช้รถส่วนตัวและหันมาใช้รถไฟฟ้าได้
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                  กรุงเทพโพลล์ โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความเห็นของประชาชน
เรื่อง “รถไฟฟ้าสายสีต่างๆ กับหัวอกคนใช้บริการ” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนที่ใช้
บริการรถไฟฟ้าสายสีต่างๆ ในกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 1,200 คน เมื่อวันที่ 5-10
กรกฎาคมที่ผ่านมา พบว่า
 
                  ปัจจุบันประชาชนร้อยละ 38.2 ระบุว่าเดินทางโดยใช้บริการรถไฟฟ้า
(BTS, MRT, Airport Link) เป็นบางวัน
รองลงมาร้อยละ 36.2 ระบุว่าใช้เป็นประจำ
ทุกวัน และร้อยละ 25.6 ระบุว่านานๆ ใช้ที โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 66.2 ระบุว่า ขึ้นขบวนเดียว
/ต่อเดียวถึง ขณะที่ร้อยละ 33.8 ระบุว่า ต้องเปลี่ยนขบวนเชื่อมต่อไปรถไฟฟ้าสายสีอื่น
 
                  ทั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 46.2 ระบุว่ามีค่าใช้จ่ายในการ
เดินทางด้วยรถไฟฟ้าเฉลี่ยวันละ 51-100 บาท
รองลงมาร้อยละ 35.4 ระบุว่า
น้อยกว่า 50 บาท และร้อยละ 14.2 ระบุว่า 101-150 บาท
 
                  สำหรับเรื่องที่ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.0 รู้สึกว่าเป็นปัญหาหรือลำบากในการใช้บริการ
รถไฟฟ้าคือ ค่าตั๋วโดยสารแพง
รองลงมาร้อยละ 39.4 คือ จุดเชื่อมต่อของ MRT BTS เดินไกล และร้อยละ 25.7 คือ
ยุ่งยากต้องพกบัตรโดยสารทีละหลายใบ ทั้ง MRT, Rabbit, EMV
 
                  ส่วนเรื่องที่อยากฝากถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการรถไฟฟ้าพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 61.0
ระบุว่าปรับค่าโดยสารให้ถูกลงกว่านี้
รองลงมาร้อยละ 48.5 ระบุว่าอยากให้มีบัตรเดียวใช้บริการได้กับรถไฟฟ้าทุกสาย
เหมือนต่างประเทศ และร้อยละ 47.6 ระบุว่าอยากให้เร่งสร้างรถไฟฟ้าสายสีต่างๆให้เสร็จตามแผนอย่างรวดเร็ว
 
                  ด้านความพึงพอใจการให้บริการรถไฟฟ้าในภาพรวมนั้นพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 88.3
ระบุว่า พึงพอใจมากถึงมากที่สุด
ขณะที่ร้อยละ 11.7 ระบุว่าพึงพอใจน้อยถึงน้อยที่สุด
 
                  ทั้งนี้หากสามารถสร้างรถไฟฟ้าครอบคลุมทุกเส้นทางตามที่วางแผนไว้ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ
78.5 เห็นว่าจะทำให้คนกรุงเทพฯและปริมณฑลลดใช้รถส่วนตัวและหันมาใช้รถไฟฟ้าได้
ขณะที่ร้อยละ 10.1 เห็นว่า
ไม่ได้ ที่เหลือร้อยละ 11.4 ยังไม่แน่ใจ
 
 
                  โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
             1. ปัจจุบันท่านเดินทางโดยใช้รถไฟฟ้า (BTS, MRT, Airport Link) อย่างไร

 
ร้อยละ
ใช้เป็นประจำทุกวัน/แทบทุกวัน
36.2
ใช้บ้างเป็นบางวัน
38.2
นานๆใช้ที
25.6
 
 
             2. รูปแบบการใช้บริการรถไฟฟ้าของท่านเป็นอย่างไร

 
ร้อยละ
ขึ้นขบวนเดียว/ต่อเดียวถึง
66.2
ต้องเปลี่ยนขบวนเชื่อมต่อไปรถไฟฟ้าสายสีอื่น
33.8
 
 
             3. ท่านมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า (BTS, MRT, Airport Link) เฉลี่ยวันละกี่บาท

 
ร้อยละ
น้อยกว่า 50 บาท
35.4
51-100 บาท
46.2
101-150 บาท
14.2
151-200 บาท
3.7
201 บาทขึ้นไป
0.5
 
 
             4. เรื่องที่ทำให้ท่านรู้สึกว่าเป็นปัญหาหรือลำบากในการใช้บริการรถไฟฟ้า (BTS, MRT, Airport Link)
                   คือ (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)


 
ร้อยละ
ตั๋วโดยสารแพง
61.0
จุดเชื่อมต่อของ MRT BTS เดินไกล
39.4
ยุ่งยากต้องพกบัตรโดยสารทีละหลายใบ ทั้ง MRT, Rabbit, EMV
25.7
เสียเวลาต้องต่อคิวซื้อตั๋วใหม่เวลาเปลี่ยนสาย
25.1
ชื่อสถานีตรงจุดเชื่อมต่อของแต่ละสายเรียกไม่ตรงกัน
17.0
อื่นๆ อาทิ คนใช้บริการเยอะรถไฟฟ้าแน่นมากในช่วงเวลาเร่งด่วน ต้องยืนรอนาน สับสนเวลาเชื่อมต่อสายรถไฟฟ้า ฯลฯ
6.3
 
 
             5. เรื่องที่ท่านอยากฝากถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการรถไฟฟ้าคือ
                   (เลือกตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ)


 
ร้อยละ
ปรับค่าโดยสารให้ถูกลงกว่านี้
61.0
อยากให้มีบัตรเดียวใช้บริการได้กับรถไฟฟ้าทุกสายเหมือนต่างประเทศ
48.5
อยากให้เร่งสร้างรถไฟฟ้าสายสีต่างๆให้เสร็จตามแผนอย่างรวดเร็ว
47.6
อยากให้มีราคาเดียวตลอดสาย
31.3
อื่นๆ อาทิ เพิ่มขบวนรถในช่วงเวลาเร่งด่วน ปรับปรุงระบบไม่ให้ขัดข้องบ่อย มีสถานีให้ครอบคลุมกว่านี้ เพิ่มสถานีจุดเชื่อมต่อ ฯลฯ
2.9
 
 
             6. ปัจจุบันท่านมีความพึงพอใจการให้บริการรถไฟฟ้าในภาพรวมมากน้อยเพียงใด

 
ร้อยละ
พอใจมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็น พอใจมาก ร้อยละ 82.5 และพอใจมากที่สุด ร้อยละ 5.8)
88.3
พอใจน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นพอใจน้อย ร้อยละ 11.5 และพอใจน้อยที่สุด ร้อยละ 0.2)
11.7
 
 
             7. หากสามารถสร้างรถไฟฟ้าครอบคลุมทุกเส้นทางตามที่วางแผนไว้จะทำให้คนกรุงเทพฯและปริมณฑล
                   ลดใช้รถส่วนตัวและหันมาใช้รถไฟฟ้าได้หรือไม่


 
ร้อยละ
ได้
78.5
ไม่ได้
10.1
ไม่แน่ใจ
11.4
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                   เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เกี่ยวกับการใช้บริการรถไฟฟ้า
(BTS, MRT, Airport Link) ค่าใช้จ่ายในการใช้บริการรถไฟฟ้าเฉลี่ยต่อวัน ความพึงพอใจต่อการใช้บริการรถไฟฟ้า
ตลอดจนปัญหาในการใช้บริการรถไฟฟ้าในปัจจุบัน และเรื่องที่อยากฝากถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการรถไฟฟ้า
ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯและปริมณฑลที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป
โดยแบ่งเป็นเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้น
ใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,200 คน
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว (face to face interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open ended)
จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 5-10 กรกฎาคม 2566
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 15 กรกฎาคม 2566
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
435
36.2
             หญิง
765
63.8
รวม
1,200
100.0
อายุ:
 
 
             15 – 24 ปี
500
41.7
             25 – 34 ปี
271
22.6
             35 – 44 ปี
176
14.7
             45 – 54 ปี
143
11.9
             55 ปีขึ้นไป
110
9.1
รวม
1,200
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
630
52.5
             ปริญญาตรี
515
42.9
             สูงกว่าปริญญาตรี
55
4.6
รวม
1,200
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
98
8.2
             ลูกจ้างเอกชน
458
38.2
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
149
12.4
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
13
1.1
             ทำงานให้ครอบครัว
4
0.3
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
65
5.4
             นักเรียน/ นักศึกษา
394
32.8
             ว่างงาน
19
1.6
รวม
1,200
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898